เชิงอรรถ ของ การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก

  1. 1 2 ในช่วงเวลาของการชน นาฬิกาของ ไททานิก ถูกตั้งไว้ล่วงหน้า 2 ชั่วโมง 2 นาทีจากเขตเวลาตะวันออก และ 2 ชั่วโมง 58 นาทีหลังเวลามาตรฐานกรีนิช เวลาเดินเรือถูกตั้งเวลา ณ เที่ยงคืน 13–14 เมษายน 1912 และขึ้นกับการคาดการณ์ตำแหน่งของ ไททานิก ณ เที่ยงวันของวันที่ 14 เมษายน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการสังเกตดวงดาวในตอนค่ำของวันที่ 13 เมษายน ซึ่งจะปรับโดยการนำร่องโดยใช้การคำนวณ (dead reckoning) แต่เนื่องจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น นาฬิกาของไททานิกจึงไม่ได้ปรับเวลา ณ เที่ยงคืนของวันที่ 14-15 เมษายน[1]
  2. เรือลำที่สามคือ อาร์เอ็มเอส บริแทนนิก ซึ่งไม่เคยประจำการเป็นเรือโดยสาร แต่ประจำการเป็นเรือพยาบาล เอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1)
  3. วิทยุโทรเลขหรือที่รู้จักกันในชื่อโทรเลขไร้สายในยุคนั้น
  4. 1 2 growler:  "ภูเขาน้ำแข็งขนาดเล็กหรือแพน้ำแข็งที่เกือบมองไม่เห็นบนผิวน้ำ"
  5. ถึงแม้ว่าภายหลังจะความเชื่ออย่างเช่นใน ภาพยนตร์ไททานิกปี 1997 ว่า ไททานิก ไม่ได้พยายามสร้างสถิติความเร็วในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ไวต์สตาร์ไลน์นั้นตัดสินใจที่จะไม่แข่งขันกับคู่แข่งอย่างคูนาร์ดไลน์ด้วยความเร็ว แต่จะมุ่งเน้นแข่งขันด้วยขนาดและความหรูหราแทน[25]
  6. เหตุการณ์ที่ยืนยันหลักการนี้ในขณะที่ ไททานิก อยู่ระหว่างการก่อสร้างคือ เรือ อาร์เอ็มเอส รีพับบลิก ของไวต์สตาร์ไลน์เกิดอุบัติเหตุชนกันและอับปางลง แม้ว่าเรือจะมีเรือชูชีพไม่เพียงพอสำหรับผู้โดยสารทุกคน แต่ผู้โดยสารก็รอดชีวิตทั้งหมด เพราะเรือสามารถลอยอยู่ได้นานพอที่จะย้ายผู้โดยสารทั้งหมดไปยังเรือที่มาช่วยเหลือ[85]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก http://www.titanicology.com/Titanica/FireDownBelow... https://www.nytimes.com/2012/04/10/science/a-new-l... https://www.navcen.uscg.gov/?pageName=iipWhereIsIc... http://www.titanicinquiry.org/BOTInq/BOTInq19Wildi... http://www.titanicinquiry.org/USInq/AmInq12White01... https://www.americanantiquarian.org/proceedings/44... https://www.americanantiquarian.org/proceedings/44... https://www.minneapolisfed.org/about-us/monetary-p... https://www.telegraph.co.uk/history/10581757/Lost-... https://web.archive.org/web/20180616120535/https:/...